วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต

          สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดแบ่งหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการศึกษา และการนำมาใช้ประโยชน์ วิชาที่ว่าด้วยการจัดแบ่งหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า อนุกรมวิธาน (Taxonomy) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน คือ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ชาวสวีเดน



ชื่อของสิ่งมีชีวิต มี 2 ชนิด คือ

       1. ชื่อสามัญ (common name) คือ ชื่อที่เรียกกันทั่วๆไป อาจเรียกตามลักษณะรูปร่าง ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่อยู่ก็ได้เช่น ปากกาทะเล หอยมุก เป็นต้น ซึ่งชื่อดังกล่าวอาจเรียกต่างกัน ในแต่ละที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
      2. ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ลินเนียสเป็นผู้เริ่มใช้เป็นคนแรก โดยสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ ชื่อแรกเป็นชื่อ จีนัส ชื่อที่2 เป็นชื่อ สปีชีส์ เขียนด้วยภาษาลาติน ชื่อจีนัสตัวแรกเขียนด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ ตัวแรกของสปีชีส์เป็นชื่อตัวเล็กธรรมดา ต้องเขียนให้ต่างจากอักษรอื่นเช่น ตัวเอน ตัวหนา หรือขีดเส้น ทั้ง 2 ชื่อไม่ติดกันเรียกระบบนี้ว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature)

ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
    1. ลักษณะภายนอกและโครงสร้างภายใน
    2. แบบแผนการเจริญเติบโตและโครงสร้างระยะตัวอ่อน
    3. ซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบ
    4. โครงสร้างของเซลล์และออร์แกเนล
    5. สรีระวิทยาและการสังเคราะสารเคมี
    6. ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

ลำดับขั้นในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
     ลำดับขั้นของหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต (taxonomy category) มีการจัดลำดับตั้งแต่ใหญ่ที่สุด ถึงเล็กที่สุดดังนี้
     1. อาณาจักร (kingdom)
     2. ไฟลัม (phylum) หรือดิวิชัน (division)
     3. คลาส (class)
     4. ออร์เดอร์ (order)
     5. แฟมิลี (family)
     6. จีนัส (genus)
     7. สปีชีส์ (species)

อาร์ เอช วิทเทเคอร์ (R.H.Whittadker) ได้แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ
    1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom  Monera)
    2. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom  Protista)
    3. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom  Fungi)
    4. อาณาจักรพืช (Kingdom  Plantae)
    5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)


อ้างอิง: https://kanyabin.wordpress.com